วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กรุงธนบุรี

ประวัติศาสตร์

การกอบกู้เอกราช




เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย" และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310


ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น


ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี


การรวมชาติและการขยายตัว





ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง[6]


ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน


สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311[7] เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพะรเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ[8]


ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้


ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี


[แก้] การสิ้นสุด


ช่วงปลายรัชกาล เกิดการรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[9] เจ้าพระยาจักรีทราบข่าวก็รีบกลับมายังพระนคร เมื่อสืบสวนเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ข้าราชการก็ฟ้องร้องว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเหตุ เนื่องจากทรงมีสติฟั่นเฟือน[10] ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325 เจ้าพระยาจักรีจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[11]


[แก้] การปกครอง


การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


[แก้] การปกครองส่วนกลาง


กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่



  • สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"

  • สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"

ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่



[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค



  • หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี


  • เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง


[แก้] เศรษฐกิจ


ในช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากสงครามกับพม่าอย่างหนัก มีการขาดแคลนอาหารเนื่องจากขาดการทำนามานาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์และท้องพระคลังเพื่อซื้อข้าวมาบรรเทาความอดอยากของผู้คนทั้งหลาย และยังเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านที่หนีไปอยู่ตามป่าเขากลับมาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย


นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น[12][13][14]


[แก้] สังคม


สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น


1.พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม


2.พระบรมวงศานุวงศ์


3.ขุนนาง


4.ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม


5.ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก


หลังจากบ้านเมืองแตกแยก เพราะการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาแล้ว เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น พม่าจึงเล็งเห็นว่า ไม่ต้องการให้อาณาจักรสยามเจริญได้อีก จึงต้องมีการรบราญกันอยู่บ่อย การเรียกกำลังพลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการหลบหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตรากฎหมายการสักเลกขึ้น โดยไพร่ชายใดอายุถึงกำหนด ต้องสักเลก เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนคนได้ และถ้าหากมีการหลบหนีเมื่อใด อาจจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเป็นผู้ตัดสินคดีด้วยตัวของพระองค์เอง ส่วนชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือนั้นก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับอยุธยา


[แก้] วัฒนธรรม


รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนานนักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอย่างมากเช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น